ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : ทางป้องกันข้อหา รับของโจร

(D)
เบื้องต้นขอแนะนำตัวก่อนแล้วกัน ผมเป็นตำรวจยศ ร้อยตำรวจเอก เคยประมูลพระเครื่องจากพี่ พันชาติ ไป ซึ่งตอนนั้นโทรคุยกัน พี่พันชาติ ได้ถามผมเกี่ยวกับเรื่องข้อหา รับของโจร ว่าจะป้องกันหรือแก้ไขอย่างไรดี หากพลาดไปโดนเข้า ซึ่งผมรับปากพี่พันชาติว่าจะนำหลักการมาให้เพื่อน ๆ พี่ ๆ สมาชิกได้ทราบไว้เป็นข้อมูลกัน....ผมจึงขอแนะนำไว้ 2 กรณี ดังนี้
กรณีที่ 1 คือ ทางป้องกัน การซื้อขายพระเครื่องหรือที่เราเรียกว่าเช่านี้ มีกฏหมายที่เกี่ยวข้องอยู่คือ พ.ร.บ.ค้าของเก่าฯ ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกิจการค้าของเก่า ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน และต้องทำสมุดคุมบัญชีสินค้าภายในร้านและสินค้าที่ซื้อมาและขายไป ดังนั้นทางป้องกันที่ดีที่สุด ก็คือ ทำสมุดคุมบัญชีสินค้าภายในร้าน ว่าได้มาอย่างไร ถูกต้องหรือไม่ และรับซื้อมาจากผู้ใด และไปขออนุญาตค้าของเก่าจากนายทะเบียนให้ถูกต้องตามกฏหมาย
กรณีที่ 2 คือ ทางแก้ไข หากถูกกล่าวหาว่า รับของโจร คงต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า การได้มาหรือครอบครองนั้นได้มาโดยสุจริต และไม่ทราบว่าเป็นของโจร รับซื้ออย่างเปิดเผยและราคาเหมาะสมตามราคาตลาด
ผมขอให้คำแนะนำไว้เพียงเท่านี้ครับ หากมีเพื่อน ๆ พี่ ๆ สมาชิกคนใดมีปัญหาอะไร ผมยินดีรับใช้ครับ และขอฝากเนื้อฝากตัวไว้นะโอกาสนี้ เนื่องจากความรู้ด้านพระเครื่องยังน้อยมากคงต้องขอความรู้จากพี่ ๆ ทุกคน และช่วงนี้ได้นำพระมาให้พี่ ๆ ร่วมประมูลกัน เนื่องจากหนี้สินเริ่มล้นพ้นตัว.....................
หวัดดีครับ

โดยคุณ noklek (1.8K)  [อ. 22 มี.ค. 2548 - 03:19 น.]



โดยคุณ duckman (92)(1)   [อ. 22 มี.ค. 2548 - 12:15 น.] #4215 (1/11)


(D)
เยี่ยมครับผู้กอง

โดยคุณ พันชาติ (499)  [อ. 22 มี.ค. 2548 - 12:21 น.] #4216 (2/11)
ขอขอบคุณคุณนกเล็กมากครับ ที่ได้มาให้ความรู้กับพวกเรา ซึ่งผมตมคิดว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ครับ ดังนั้นผมขอถามต่อเลยนะครับ
ตามข้อ 1 เราเป็นแค่นักสะสมสมัครเล่น ที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนปกติ จำเป็นต้องไปขึ้นทะเบียนอย่างที่ว่านั้นไหมครับ กรณีจำเป็นต้องไปขึ้นที่ไหน มีค่าใช้จ่ายอย่างไรครับ หรือถ้าไม่ไปขึ้นจะมีผลทางกฎหมายอย่างไร
กรณีไม่จำเป็น แล้วเงื่อนไขแบบไหนถึงเข้าข่ายที่ต้องไปขึ้นทะเบียนแบบว่านั้นครับ
ตามข้อ 2 การพิสูจน์ว่าซื้อมาเปิดเผยนั้น พิสูจน์ได้อย่างไร ราคาตามความเหมาะสมนั้นเป็นแบบไหน เนื่องจากพระเครื่องราคาไม่ได้กำหนดแน่นอน หรือประมาณได้ ราคาอาจจะอยู่ที่ความพอใจ จะแก้ไขอย่างไรครับ

โดยคุณ เอ_วัดเสด็จ (5.1K)  [อ. 22 มี.ค. 2548 - 18:00 น.] #4225 (3/11)


(D)
เยี่ยมครับผู้กอง

โดยคุณ suprom (272)  [อ. 22 มี.ค. 2548 - 19:15 น.] #4228 (4/11)
ขอตอบเท่าที่ทราบดังนี้นะครับ
ข้อ 1. คำตอบของคุณ noklek และพี่พันชาตินะครับ สำหรับในการขอใบอนุญาตใบค้าของเก่านั้น โดยมากภาพรวม ผู้ขายจะเป็นผู้ไปขอใบอนุญาต โดยมีหลักเกณฑ์คร่าวๆดังนี้ เริ่มแรกก็ไปจดทะเบียนพาณิชย์ ณ กรมพัฒนาการค้า (ทะเบียนพาณิชย์เดิม)โดยต้องมีชื่อผู้ประกอบการ มีสถานที่ตั้งร้านชัดเจน มีวัตถุประสงค์แน่ชัดว่าจะดำเนินการประเภทอะไร ต่อจากนั้นนำใบทะเบียนพาณิชย์พร้อมสำเนาบัตรประชาชน,สำเนาทะเบียนบ้าน ไปที่ว่าการอำเภอ ณ อำเภอที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หลังจากอำเภอรับเรื่องแล้วจะส่งเรื่องไปยังสถานีตำรวจในท้องที่ เมื่อตำรวจรับเรื่องแล้วจะมีหนังสือเชิญผู้ประกอบการไปสถานีตำรวจเพื่อทำประวัติ และพิมพ์ลายนิ้วมือ ต่อจากนั้นจะส่งเรื่องกลับไปที่ว่าการอำเภอเพื่อให้อำเภอเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้เซ็นต์ใบอนุญาต เนื่องจากผู้ว่าฯเป็นนายทะเบียนตามกฎหมาย พร้อมทั้งให้เราชำระค่าธรรมเนียม ซึ่งอัตราค่าธรรมเนียมนั้น จะแล้วแต่ประเภทของกิจการ เช่น ขายโทรศัพท์มือถือหรือเครื่องไฟฟ้าจะอยู่ในอัตราปีละ ห้าพันบาท ถ้าจำหน่ายรถจักรยานยนต์มือสองก็อัตราหนึ่ง รถยนต์ก็อัตราหนึ่ง หรือจำหน่ายทองรูปพรรร เพชร พลอยก็อัตราหนึ่งประมาณปีละ หนึ่งหมื่นห้าพันบาท แต่ที่แพงที่สุดคือประเภทจำหน่ายวัตถุโบราณ เครื่องลายคราม ซึ่งพระเครื่องก็น่าที่จะจัดอยู่ในประเภทนี้ด้วย มีอัตราค่าธรรมเนียม ปีละหนึ่งหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยบาท (ไม่แน่ใจ) สำหรับใบอนุญาตนั้นจะต้องขอปีต่อปี ไม่มีการต่ออายุ จะต้องต่อภายในวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี แต่โดยมากนะครับจะไม่มีการขอใบอนุญาตประเภทหลังเนื่องจากราคาแพง นอกจากผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้น ในจังหวัดที่ผมทำงานอยู่นี้ไม่มีผู้ประกอบการขอใบอนุญาตประเภทหลังนี้แม้แต่รายเดียว แต่ก็เห็นมีศูนย์พระเครื่องเปิดดำเนินกิจการอยู่หลายแห่งด้วยกัน (นี่แหละเมืองไทย) สำหรับผู้ประกอบการที่มีใบอนุญาตแล้วก็จะตกอยู่ในอำนาจหน้าที่ของตำรวจเข้ามาทำหน้าที่ดูแลแทนต่อไป
ข้อ 2.สำหรับคำตอบข้อนี้นั้น หลักสำคัญสำหรับเราที่เป็นผู้ซื้อนั้น จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า เราได้สิ่งของนั้นมาโดยสุจริต เปิดเผย และมีค่าตอบแทน หรือไม่ ซึ่งในการพิสูจน์นั้น จะต้องไปพิสูจน์นำสืบกันที่ศาล โดยที่เราต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นเช่นนั้นตามข้างต้น แต่อย่าลืมว่าทนายฝ่ายโน้นก็จะต้องซักค้านเราให้ศาลไม่เชื่อเช่นเดียวกัน ซึ่งวิธีการพิสูจน์ดังกล่าวต้องว่ากันเป็นกรณีๆไปแล้วแต่เหตุการณ์แต่ละอย่างซึ่งมันมีเยอะมากผมอธิบายได้ไม่หมด แต่เท่าที่ทราบมา จะพิสูจน์การได้มาซึ่งของสิ่งนั้น จะต้องพิสูจน์ว่าเรารู้อยู่ก่อนหรือไม่ว่าพระองค์นั้นถุกขโมยมาหรือได้มาโดยไม่สุจริต พิสูจน์ว่าเราได้มีการจ่ายค่าตอบแทนกันหรือไม่เป็นต้น แต่อย่าลืมว่าทนายฝ่ายโน้นก็ต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อโดยไม่มีข้อสงสัยว่าพระองค์นั้นเป็นของฝ่ายเขา และเราได้มาโดยไม่สุจริต ทนายฝ่ายเราก็ต้องซักค้านหรือนำสืบแย้งเช่นเดียวกันเพื่อให้ศาลลังเลหรือมีข้อสงสัย แต่หลักการที่สำคัญคือได้มาโดยสุจริต ,บริสุทธิ์ (บริสุทธิ์ใจ) เปิดเผย และมีค่าตอบแทน นั่นคือหลักการ คงพอเป็นที่เข้าใจกันนะครับทั้งฝ่ายซื้อและฝ่ายขาย ยังมีเทคนิคอีกอย่างที่อยากแนะนำสำหรับเพื่อนสมาชิกนะครับ เพื่อป้องกันเวลาที่พระของเราสูญหาย และต้องการพิสูจน์หรือนำสืบต่อศาล คือเราควรถ่ายรูปพระของเราไว้ทุกองค์ ซึ่งการถ่ายภาพพระนั้นๆ ไม่ควรวางบนโต๊ะ หรือถ่ายแต่องค์พระ ที่ถูกต้องควรจะถ่ายภาพพระไว้โดยมีเราอยู่ในรูปด้วยเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ หรืออาจจะถือพระไว้ในมือ เมื่อถึงเวลาพิสูจน์จะทำให้ทราบว่าพระองค์นั้นอยู่กับเราหรืออยู่ภายในมือของเรา โดยดูจากเส้นลายมือหรือลักษณะมือ นี่คือเทคนิคเล็กๆน้อยที่นำมาฝาก โอกาสหน้าจะนำสิ่งที่รู้มาฝากอีกนะครับ สวัสดี

โดยคุณ เอกจิตต์ (1K)  [พ. 23 มี.ค. 2548 - 00:07 น.] #4242 (5/11)
โอ้โฮ... ...แต่ก็ได้ความรู้ดีครับ

โดยคุณ พันชาติ (499)  [พ. 30 มี.ค. 2548 - 07:24 น.] #4323 (6/11)
แล้วผู้กองนกเล็กมีข้อมูลเพิ่มเติมอีกไหมครับ

โดยคุณ ecespc (164)  [พ. 30 มี.ค. 2548 - 09:02 น.] #4324 (7/11)
ขอขอบคุณคุณนกเล็กและคุณสุพรหมมากครับ สำหรบข้อมูลที่เผยแพร่ เป็นภูมความรู้กับเพื่อน สมาชิก

โดยคุณ หมอเมืองเพชร  [พ. 30 มี.ค. 2548 - 19:06 น.] #4333 (8/11)
-เยี่ยมเลยครับ ทุกๆท่านสำหรับข้อแนะนำดีๆ.

โดยคุณ หมอพี (1.3K)  [จ. 11 เม.ย. 2548 - 12:45 น.] #4529 (9/11)
ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ครับ

โดยคุณ ออสก้า99 (7.3K)  [ศ. 02 มี.ค. 2555 - 00:04 น.] #2137592 (10/11)


(N)
4

โดยคุณ ออสก้า99 (7.3K)  [พ. 07 มี.ค. 2555 - 22:57 น.] #2146913 (11/11)


(N)


5

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM