(0)
พระร่วงนั่ง เชตุพน เนื้อชินเงิน สุโขทัย






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต





ชื่อพระเครื่อง พระร่วงนั่ง เชตุพน เนื้อชินเงิน สุโขทัย
รายละเอียด พระร่วงนั่ง เชตุพน เนื้อชินเงิน สุโขทัย
แท้ดูง่ายสบายตาเปิดประมูลเริ่มต้นเบาๆ
กรุวัดเชตุพน สุโขทัย กำเนิดที่วัดเชตุพน จังหวัดสุโขทัย จึงใช้ชื่อวัดเป็นชื่อพระพิมพ์ พระเชตุพนของจังหวัดสุโขทัยนี้ ถือเป็นต้นแบบในการเรียกชื่อ เพราะพระเชตุพนแตกออกมาหลายกรุและหลายจังหวัด ต่างก็เรียกกันว่าพระเชตุพน พระเชตุพนที่พบมีอยู่ด้วยกัน ๒ เนื้อ คือ เนื้อดิน และ เนื้อชิน มี ๒ พิมพ์ได้แก่ พิมพ์นั่งฐานชั้นเดี่ยว และพิมพ์บัว ๒ ชั้น พระพุทธคุณดีทางแคล้วคลาด และเมตตามหานิยม
พระกรุ วัดเชตุพน จ.สุโขทัย อายุ 700 ปี ของดีที่น่าสะสม
"พระเชตุพน" เป็นนามพระอารามเก่าแก่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยพุทธกาล เป็นคำที่แผลงมาจาก "เชตวันมหาวิหาร" พระพุทธเจ้าโปรดที่นี่มาก จะเห็นได้ว่าเสด็จประทับจำพรรษา ณ ที่นี้รวมแล้วถึง 19 พรรษา ในจำนวน 45 พรรษา แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจของพระองค์ วัดนี้อนาถปิณฑิกมหาเศรษฐีสร้างถวายเป็นพุทธบูชา เดิมทีเป็นสวนอันน่ารื่นรมย์ของเจ้าเชต เมื่อคราอนาถปิณฑิกเศรษฐีได้เดินทางไปเมืองราชคฤห์ และพบพระพุทธองค์เป็นครั้งแรกที่สีตวัน ได้ฟังธรรมแล้วปฏิญาณตนเป็นอุบาสก ได้กราบทูลเชิญให้พระพุทธองค์เสด็จสาวัตถี
ครั้นเมื่อกลับไปเมืองแล้ว ก็พยายามแสวงหาที่อันเหมาะสม เพื่อสร้างเป็นอารามถวายพระพุทธเจ้าจนได้สถานที่อันถูกใจ ได้ติดต่อขอซื้อจากเจ้าเชต แต่ในครั้งแรกเจ้าเชตไม่ยอมขายให้ เมื่อถูกรบเร้าเจ้าเชตก็แกล้งโก่งราคาว่า ถ้าเศรษฐีสามารถเอาแผ่นทองคำมาปูเต็มเนื้อที่สวนได้ก็จะขายให้เท่ามูลค่าของราคาทองคำนั้น คือ แกล้งพูดไปอย่างที่ไม่คิดจะขาย แต่อนาถปิณฑิกนั้นตอบตกลง เจ้าเชตจึงยอมจำนนขายให้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ตามที่ได้ลั่นวาจาไว้ เมื่ออนาถปิณฑิกเศรษฐีซื้อสถานที่ได้แล้วก็จัดการสร้างพระอาราม ประกอบด้วยเสนาสนะและพุทธวิหารมากมาย ทำพิธีถวายสงฆ์และมีการเฉลิมฉลองอย่างเอิกเกริกยิ่ง ภายในบริเวณเชตวันมหาวิหาร มีผู้มาร่วมสมทบสร้างเสนาสนะถาวรวัตถุอีกมากมาย เหนือซุ้มประตูทางเข้าพระเชตวัน ได้มีการสร้างสถูปบรรจุอัฐิของพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะไว้เป็นที่สักการะของสัตบุรุษทั่วไปด้วย
เมื่อพระพุทธศาสนาเข้าไปตั้งมั่นอยู่ประเทศต่าง ๆ นับแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย ทรงส่งพระมหาเถระเข้าไปประกาศพุทธศาสนาเป็นต้นมา ในแต่ละประเทศนั้น ก็ได้คตินิยมตั้งวัดเชตวันตามคติแบบอย่างครั้งสมัยพุทธกาล โดยในสยามประเทศเองนั้น เมื่อครั้งสุโขทัยเป็นราชธานี พระเจ้ารามคำแหงมหาราชก็ทรงอาราธนาพระสังฆราชสายลังกาวงศ์มาแต่เมืองนครศรีธรรมราช ทั้งทรงบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี ในสมัยสุโขทัยนี้ มีการสถาปนาวัดต่าง ๆ ขึ้นมากมาย เช่น วัดมหาธาตุ, วัดศรีสวาย, วัดตระพังเงิน, วัดตระพังทอง, วัดชนะสงคราม, วัดป่ามะม่วง, วัดสระศรี, วัดพระพายหลวง, วัดศรีชุม, วัดตะพานหิน, วัดพระบาทน้อย, วัดเจดีย์งาม, วัดเจดีย์สูง, วัดช้างล้อม, วัดเจดีย์สี่ห้อง, วัดสรศักดิ์ รวมถึงวัดพระเชตุพนตามคตินิยม เลียนแบบวัดเชตวันเมื่อครั้งสมัยพุทธกาล
วัดพระเชตุพน (แผลงมาจากเชตวัน) มีคูล้อมรอบ นอกกำแพงเมืองมีคูก่ออิฐ มีมณฑปเป็นหลักของวัด กว้าง 8 เมตร ยาว 14 เมตร ยังเหลือแต่ผนังด้านหลัง ที่ผนังนั้นมีพระพุทธรูปปางลีลาปูนปั้นขนาดใหญ่อยู่ด้านหน้า และพระพุทธรูปยืนอยู่ด้านหลัง ด้านข้าง 2 ข้างพังทลายไม่เห็นร่องรอยมีประตูและกำแพงหินชนวนแท่งสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่โดยรอบหลังมณฑปใหญ่ออกไปมีมณฑปเล็ก ซึ่งตามซุ้มยังมีร่องรอยของภาพเขียนปรากฏอยู่ ด้านหน้ามณฑปใหญ่ มีวิหาร 6 ห้องนับเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง สร้างมาก่อน พ.ศ. 1955 เพราะในจารึกวัดสรศักดิ์ที่สร้างเมื่อ พ.ศ. 1955 มีกล่าวถึงชื่อวัดนี้แล้ว
พุทธศิลป์ของพระเชตุพน เป็นศิลปะของสมัยสุโขทัยเป็นราชธานีซึ่งในยุคนั้นเป็นยุคที่พุทธศาสนารุ่งเรื่องเป็นอย่างยิ่งสมัยนั้นไพร่ฟ้าประชาชนหรือแม้แต่องค์พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วงต่างมีจิตใจเลื่อมใสในพระพุทธศาสนากันมากกว่ายุคอื่นๆดังนั้น พระเครื่องที่สร้างในสมัยสุโขทัยอันเป็นสมัยที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองจึงนับว่าเป็นพระเครื่องที่สูงส่งคุณค่าเป็นอย่างยิ่งควรค่าแก่การสะสม
ราคาเปิดประมูล 200 บาท
ราคาปัจจุบัน 320 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ 30 บาท
วันเปิดประมูล ศ. - 29 มี.ค. 2567 - 18:13:00 น.
วันปิดประมูล ส. - 30 มี.ค. 2567 - 21:01:19 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูล นครเมืองเก่า (1.4K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     320 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     30 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    weebangpree (3K)

 
(0)
  ประวัติการเสนอราคา
 ผู้เสนอราคาราคาเวลา
  สำนักท้อน (2.5K) 230 บาท ศ. - 29 มี.ค. 2567 - 21:01:19 น. (ถึงราคาขั้นต่ำแล้ว)
  บีเวียงพิงค์ (2.8K) 260 บาท ศ. - 29 มี.ค. 2567 - 21:57:09 น.
  พรญาณ (2.8K) 290 บาท ส. - 30 มี.ค. 2567 - 19:32:33 น.
  weebangpree (3K) 320 บาท ส. - 30 มี.ค. 2567 - 20:54:18 น.

Copyright ©G-PRA.COM