(0)
พระกริ่งสุตาธิการี หลวงพ่อโตทองอยู่ วัดใหม่หนองพะองค์ ปี 2526 เนื้อนวโลหะผิว สภาพสวยเดิม








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระกริ่งสุตาธิการี หลวงพ่อโตทองอยู่ วัดใหม่หนองพะองค์ ปี 2526 เนื้อนวโลหะผิว สภาพสวยเดิม
รายละเอียดพระกริ่งสุตาธิการี

หลวงพ่อทองอยู่ วัดหนองพะอง จ.สมุทรสาคร

อ.เทพ สาริกบุตร เป็นผู้วางฤกษ์ และการลงพระยันต์ อ นิรันด์ แดงวิจิตร(อ.หนู)เป็นเจ้าพิธี
---------////--------
พระกริ่งเป็งย๊ง ของหลวงปู่โต๊วัดประดู่ฉิมพลี และ

พระกริ่ง ชินบัญชร ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่

เป็นพระกริ่งที่ได้รับความนิยมสูงสุดของวงการ ด้วยเหตุที่พระอาจารย์ทั้ง 2 ท่านถือได้ว่าเป็นตัวจริงเสียงจริงที่ขลังจริงทำได้จริงประสพการณ์จริงกราบไหว้พึ่งพาได้อย่างสนิทใจมีผู้เคารพนับถือทั่วประเทศ

ทั้งคนเดินดินกินข้าวแกงตลอดจนบุคคลชั้นสูงของประเทศ แต่จะมีสักกี่คนที่จะได้มีโอกาสครอบครองด้วยราคาระดับหลักแสนและปํญหาเก๊แท้ จึงมีไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครๆก็จะมีได้

แต่ยังมีของดีอาจารย์เก่งยุคเดียวกับ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี และ หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ นั่นก็คือ

" พระกริ่งสุตาธิการี ของ หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะองค์ จ.สมุทรสาคร

พระกริ่งรุ่นนี้ สร้างขึ้นในปี 2526 โดยมีอาจารย์เทพ สาริกบุตร เป็นผู้วางฤกษ์ และการลงพระยันต์ 108 และ นะ14 ตามตำราของวัดสุทัศน์อย่างเคร่งครัดทุกประการ

อาจารย์นิรันด์ แดงวิจิตร(อ.หนู)เป็นเจ้าพิธี ในการดำเนินการสร้างในครั้งนี้

หลวงพ่อทองอยู่ท่านนี้เป็นพระเกจิที่ได้รับการยอมรับจากลูกศิษย์ของหลวงปู่โต๊ะเป็นอย่างสูงเนื่องมาจากไม่ว่าจะมีพิธีปลุกเสกที่ใดจะต้องมีชื่อพระอาจารย์ทั้งสองท่านนี้คู่กันเสมอ

หลวงปู่โต๊ะยังให้นิมนต์หลวงพ่อทองอยู่มาในงานวันเกิดของท่านเป็นกรณีพิเศษเป็นประจำทุกปีมิได้ขาดจวบจนหลวงปู่โต๊ะท่านมรณะภาพ

แม้กระทั่งพระกริ่งพุทโธรุ่นสุดท้ายของหลวงปู่โต๊ะที่ท่านได้เทเอาไว้แต่ไม่ทันเศกท่านก็มรณะภาพไปเสียก่อน ทางวัดประดู่ฉิมพลีและบรรดาลูกศิษย์ต่างก็มีมตินิมนต์ให้หลวงพ่อทองอยู่ท่านนี้มาปลุกเศกพระกริ่งรุ่นนี้แทน

ซึ่งเป็นไปตามที่หลวงปู่โต๊ะท่านได้สั่งเสียไว้ก่อนท่านจะมรณภาพว่าให้นิมนต์หลวงพ่อทองอยู่มาปลุกเสกพระกริ่งรุ่นนี้ให้แทนหากท่านมรณภาพไปก่อน

สำหรับพระกริ่งที่จะถือได้ว่าสร้างได้ถูกต้องนั้นต้องประกอบไปด้วยฤกษ์ยามในการเททองเพื่อให้สำเร็จเป็นองค์พระ

เรื่องนี้สำคัญอย่างที่สุดเปรียบได้กับการให้ฤกษ์คลอดบุตรของเราๆท่านๆ ถ้าฤกษ์เสียหรือว่าไม่เป็นมงคลนับว่าใช้ไม่ได้

แต่นี่เป็นฤกษ์ที่ให้กำเนิดพระกริ่งที่ถือว่าเป็นของสูงสร้างยากด้วยแล้วไม่ใช่โหรที่ใหนๆใครก็ให้ได้ต้องเป็นผู้มีความรู้ด้านนี้โดยเฉพาะเท่านั้นถึงจะกระทำได้การลงพระยันต์บังคับ ตามตำราของวัดสุทัศน์

ทั้งสองประการนี้ อาจารย์เทพ สาริกบุตร เป็นผู้ให้ฤกษ์และการลงพระยันต์ สำหรับท่าน อาจารย์เทพ สาริกบุตร ท่านนี้นับว่าเป็นเอกและมีความเชี่ยวชาญเจนจบอย่างยิ่งในศาสตร์แขนง นี้ได้รับการยอมรับและยกย่องอย่างสูงโดยปราศจากข้อสงสัยซึ่งไม่อาจหาผู้ใดมาทัดเทียมได้

แม้กระทั่งพระกริ่งของท่าน อ.ไสว วัราชนัดดา ก็ยังต้องให้ท่านวางฤกษ์ให้ในหลายครั้งหลายโอกาสพิธีกรรม อาจารย์นิรันด์ แดงวิจิตร(อ.หนู) เป็นเจ้าพิธีในการสร้างครั้งนี้

ในสมัยสมเด็จพระสังฆราช(แพ)วัดสุทัศน์ ทรงสร้างพระกริ่งนั้น ท่านให้ความสำคัญกับพิธีกรรมอย่างยิ่งห้ามมิให้ขาดตกบกพร่อง

ท่านอ.หนูก็ได้ร่วมถวายงานรับใช้ใกล้ชิดในการจัดพิธีกรรมตามบัญชาของสมเด็จฯมาโดยตลอดจมิได้ขาดจึงเป็นที่ยอมรับของลูกศิษย์ทุกๆท่านว่าท่าน อ.หนู เป็นผู้ที่รู้จริงปฏิบัติได้ถูกต้องจริงเป็นที่เชื่อถือได้เนื้อหาองค์พระ

พระกริ่งรุ่นนี้มีชนวนมวลสารที่สำคัญๆจำนวนมากมาผสมเพื่อใช้เทเป็นเนื้อนวะโลหะและท่านอ.หนูได้ควบคุมการผสมแร่ธาตุต่างอย่างใกล้ชิดอีกด้วย

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่าพระกริ่งรุ่นนี้เป็นพระกริ่งที่สร้างได้อย่างถูกต้องตามตำราของวัดสุทัศน์ทุประการและโดยผู้รู้จริงเชี่ยวชาญจริงและพระอาจารย์ผู้ปลุกเศกเป็นของจริงเป็นที่ยอมรับ จะหาพระกริ่งรุ่นใหนในปัจจุบันนี้ที่สร้างได้แบบนี้เห็นทีจะยากแล้วครับ

หลวงพ่อทองอยู่ วัดหนองพะอง เป็นหนึ่งพระเกจิอาจารย์ยุคหลังยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ พร้อม ๆ กับหลวงพ่อสุด วัดกาหลง และ หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม

ท่านเป็นสหธรรมมิกกับ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง เป็นศิษย์ของหลวงปู่ใจ วัดเสด็จ และเป็นศิษย์ผู้พี่ของหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ

ท่านเป็นหนึ่งพระเกจิอาจารย์ยุคหลังยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ พร้อม ๆ กับหลวงพ่อสุด วัดกาหลง และ หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม และท่านเป็นสหธรรมมิกกับ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี

พระกริ่ง-รุ่นนี้สร้างเมื่อ พ.ศ.2526 โดยเอานามสมณศักดิ์ "พระครูสุตาธิการี" ของหลวงพ่อทองอยู่มาเรียก เพื่อให้การสร้างพระรุ่นนี้มีความสมบูรณ์และศักดิ์สิทธิ์ตามตำรา

โดยคณะผู้ดำเนินการสร้างได้รวบรวมชนวนโลหะศักดิ์สิทธิ์หลายพิธีมาเป็นส่วนผสม ประกอบด้วย

ชนวนพระชัยวัฒน์ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว

ชนวนพระกริ่ง หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา

ชนวนพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง

ชนวนพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ไพรีพินาศ วัดบวรนิเวศวิหาร

ชนวนรูปเหมือนหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก

ชนวนพระกริ่ง 7 รอย วัดบวรนิเวศวิหาร

ชนวนพระกริ่ง หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง

ชนวนพระกริ่งนเรศวรเผด็จศึก จังหวัดพิษณุโลก

ชนวนพระกริ่ง-ชัยวัฒน์ชินบัญชร หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่

ห่วงเหรียญพระเกจิอาจารย์ทั้งเก่าและใหม่จำนวนมาก ฯลฯ

พระกริ่ง-รุ่น นี้สร้างโดยวิธีการเททองแบบหล่อโบราณ โดยมี “อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร” ผู้เชี่ยวชาญทางพิธีการสร้างพระกริ่งของเมืองไทยเป็นผู้กำหนดฤกษ์และเป็นเจ้าพิธี

นอกจากนี้อาจารย์เทพย์ยังได้ลงแผ่นโลหะด้วยพระยันต์ 108 และ 14 อันเป็นสูตรการสร้างพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์แต่โบราณ

โดยมี อาจารย์หนู หรือ อาจารย์นิรันต์ แดงวิจิตร ศิษย์ผู้ใกล้ชิดสมเด็จพระสังฆราช (แพ) และเจ้าคุณศรี (สนธิ์) มาช่วยในการสร้างพระกริ่งแต่ละขั้นตอนเพื่อให้ถูกต้องตามตำราอย่างแท้จริงตามแบบฉบับวัดสุทัศน์

ซึ่งอาจารย์หนูได้มอบชนวนพระกริ่ง-วัดสุทัศน์รุ่นเก่า ๆ จำนวนหนึ่งมาผสมลงในเบ้าหลอมด้วย การทำพิธีเททองมีการจัดปริมณฑลพิธีและเครื่องบวงสรวงถูกต้องตามตำราทุกอย่าง

โดยหลวงพ่อทองอยู่ได้นั่งบริกรรมคาถาและมีพระสงฆ์สวดเจริญพระพุทธมนต์ตลอดเวลาจนเสร็จพิธี พระกริ่งรุ่นนี้มีการอุดกริ่งแบบ “ชักเม็ดกริ่งในตัว”

ซึ่งเป็นการสร้างตามแบบฉบับของวัดสุทัศน์ครั้งสมัยสมเด็จพระสังฆราช (แพ) และเจ้าคุณศรี (สนธิ์) คือเม็ดกริ่งจะถูกบรรจุในองค์พระขณะเททองหล่อ รอยอุดกริ่งของพระรุ่นนี้จึงอยู่ที่ฐานด้านหลัง 2 รู

ไม่ได้อยู่ใต้ฐานด้านล่าง แบบหล่อแล้วมาเจาะรูอุดเม็ดกริ่งภายหลัง สว่นเม็ดกริ่งก็เอาเนื้อโลหะที่กำลังหลอมเหลวอยู่มาสาดในน้ำทำให้ได้เม็ดโลหะเป็นเม็ดเล็ก ๆ มาเป็นเม็ดกริ่ง จากพิธีการสร้างที่ยึดแบบอย่างตามตำราและพิถีพิถันในการผสมเนื้อโลหะ จึงทำให้พระกริ่ง-รุ่นนี้เนื้อโลหะออกมาเป็น “นวโลหะกลับดำ” เหมือนพระกริ่ง-วัดสุทัศน์รุ่นเก่า ๆ

พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ รุ่นนี้เมื่อเสร็จพิธีเททองและแต่งเป็นองค์พระเสร็จแล้ว หลวงพ่อทองอยู่ได้นิมนต์พระเกจิอาจารยอีกหลายท่านมาร่วมปลุกเสกด้วย เสร็จจากพิธีพุทธาภิเษกแล้วหลวงพ่อทองอยู่ได้ปลุกเสกเดี่ยวอีกหลายวันจึงนำออกแจกจ่าย จำนวนการสร้าง 999 องค์

ออกบัตรเองลด 800 บาท
รับประกันตามกฎ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน12,100 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 27 มี.ค. 2567 - 13:55:43 น.
วันปิดประมูล - 28 มี.ค. 2567 - 14:32:07 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลGamulet88 (240)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     12,100 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    constitute (123)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM