(0)
เหรียญครูบาศรีวิชัย วัดบ้านปาง จ.ลำพูน ปี2497--เคาะแรกแดง







ชื่อพระเครื่องเหรียญครูบาศรีวิชัย วัดบ้านปาง จ.ลำพูน ปี2497--เคาะแรกแดง
รายละเอียดเหรียญพระสงฆ์ที่ดังมากเหรียญหนึ่ง ได้แก่ “เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดบ้านปาง จ.ลำพูน” เป็นเหรียญที่สร้างหลังท่านมรณภาพ ที่เรียกกันว่า “เหรียญตาย” ชุดแรก สร้างในปี พ.ศ.2482 โดยวัดราชบพิตร ปัจจุบันเป็นที่แสวงหายิ่งนัก สนนราคาขึ้นสูงลิ่วทีเดียว


ครูบาเจ้าศรีวิชัย เป็นชาวลำพูนโดยกำเนิด เกิดปีขาล เดือน 9 เหนือ (เดือน 7 ของภาคกลาง) ขึ้น 11 ค่ำ ตรงกับวันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2421 ที่บ้านปาง ต.แม่ตืน (ปัจจุบันคือ ต.ศรีวิชัย) อ.ลี้ โยมบิดา-มารดาชื่อ นายควาย-นางอุสา มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน ท่านเป็นคนที่ 4 เดิมชื่อ ‘เฟือน’ หรือ ‘อินท์เฟือน’ หมายถึง การเกิดกัมปนาทหวั่นไหวถึงสวรรค์หรือเมืองของพระอินทร์ บ้างก็ว่า ‘อ้ายฟ้าร้อง’ เพราะขณะที่ท่านเกิด ปรากฏฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ท่านเป็นเด็กที่มีวรรณะผุดผ่อง ฉลาด มีเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีความผูกพันกับพุทธศาสนามาตั้งแต่เด็ก ชอบชวนบิดามารดาเข้าวัดอยู่เสมอ บิดามารดาจึงนำไปฝากเป็นศิษย์ พระอธิการขัติ เจ้าอาวาสวัดบ้านปาง เพื่อศึกษาอักขระสมัยและอักษรไทย จนอายุ 18 ปี จึงบรรพชาเป็นสามเณร ศึกษาภาษาพื้นเมือง ภาษาบาลี-สันสกฤต ท่านก็เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและแตกฉาน เมื่ออายุครบบวชจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ มีฉายา “สิริวิชโย” แต่ชาวบ้านมักเรียกว่า “พระศรีวิชัย” ศึกษาเล่าเรียนทางวิปัสสนา และออกธุดงควัตรเพื่อศึกษาเพิ่มเติมกับหลายพระอาจารย์ผู้ทรงคุณจนมีความเข้าใจและเชี่ยวชาญอย่างถ่องแท้ เมื่อกลับสู่วัดบ้านปาง ได้สร้างทาน ศีล บารมี ชี้แนะแนวธรรมะ ทำนุบำรุงพระศาสนา จนเป็นที่เคารพของชาวเมืองและสาธุชนทั่วไปอย่างกว้างขวาง ต่างพากันเรียกท่านว่า "ครูบา" ซึ่งหมายถึง พระภิกษุอาวุโส

ตลอดชีวิตสมณเพศของครูบาเจ้าศรีวิชัย ท่านไม่เคยได้รับสมณศักดิ์ใดๆ แต่ทว่า ท่านได้บูรณะซ่อมแซมวัดวาอารามต่างๆ ทั้งที่เชียงใหม่และลำพูน จนพัฒนาขึ้นเป็นจำนวนมาก ด้วยศรัทธาของศิษยานุศิษย์ เพียงท่านออกปากก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี เช่น การสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ การบูรณะวัดสวนดอก บูรณะวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นต้น จนได้รับการยกย่องว่าเป็น "นักบุญแห่งลานนาไทย" ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2481 สิริอายุ 60 ปีเศษ 40 พรรษา



เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย ปี 2482 นับเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมสูงสุด ทางวัดราชบพิตรได้ให้ร้านอัมราภรณ์แกะบล็อก และเข้าพิธีพุทธาภิเษกพร้อมกับวัตถุมงคลของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2481 แบ่งออกเป็น 2 แบบ

เหรียญลงยา สำหรับแจกกรรมการ ทำเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ ปัจจุบันราคาอยู่หลักล้าน
เหรียญรูปไข่ จะมี สองชาย และ สามชาย โดยพิมพ์สามชายได้รับความนิยมกว่าพิมพ์สองชาย
พิมพ์สองชาย ให้ดูที่ข้อมือซ้ายจะมีขีดคล้ายชายจีวร 2 เส้น หากใช้กล้องส่องอาจเห็นเส้นวิ่งกึ่งกลางเป็นติ่งยื่นลงมาระหว่างเส้นชายทั้งสองนิดเดียว ฝีมือช่างเดียวกัน มักพบเป็นเนื้อทองเหลืองด้วย พิมพ์สองชายราคาหลักแสนขึ้น

พิมพ์สามชาย ที่ข้อมือซ้ายจะมีขีดคล้ายชายจีวร 3 เส้น และยังแบ่งย่อยออกเป็น

สามชาย อักษรมน นับเป็นพิมพ์หนึ่ง (บ้างเรียกก้นอักษรมน) ให้ดูที่ สระอู กับ ตัว ช จะไม่มีเหลี่ยม ด้านหน้าเป็นแอ่งท้องกระทะ ด้านหลังเรียบไม่แอ่น และเห็นขอบเส้นแผ่วๆ วิ่งรอบเหรียญ ถือว่าลึกที่สุดในสี่พิมพ์ ขอบตัดด้วยเครื่องไม่มีรอยตะไบ ห่วงเชื่อม เส้นพระเกศา พื้นไม่เรียบ เหนือกลางคิ้วขวามีไฝเม็ดซึ่งปรากฏทุกพิมพ์ ใบหน้าท่านตอบซูบเห็นเป็นเนื้อ ทุกพิมพ์ครองจีวรแบบห่มคลุม มีผ้าเล็กคลุมอีกชั้นกันหนาว เนื้อโลหะเป็นทองแดง อาจพบเนื้อทองเหลืองผสมบ้าง เรียกทองฝาบาตร (พบเหรียญเงินจำนวนไม่มากนัก)

สามชาย อักษรสลับ เป็นพิมพ์สอง ฝีมือช่างเดียวกันกับพิมพ์หนึ่ง สระอูทำเป็นตัวมน ส่วน ตัว ช กลับเป็นฐานเหลี่ยม นอกนั้นคล้ายพิมพ์หนึ่งมาก ท้องอ่างเป็นแอ่งกระทะไม่ลึกเท่าพิมพ์หนึ่ง เนื้อโลหะคล้ายคลึงกัน ไมค่อยพบเนื้อเงิน เนื้อเงินสภาพดีดีหลักแสนกลาง เนื้อทองแดงหลักแสนขึ้น

สามชาย อักษรเหลี่ยม พิมพ์ที่สาม (บ้างเรียกก้นอักษรเหลี่ยม) สระอู กับ ตัว ช เป็นเหลี่ยมไม่กลมโดยเฉพาะที่ฐานตัวอักษรเป็นมุมแหลมค่อนข้างชัดเจน ราคาหลักแสนขึ้น
ราคาเปิดประมูล950 บาท
ราคาปัจจุบัน1,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 10 พ.ย. 2566 - 09:48:30 น.
วันปิดประมูล - 11 พ.ย. 2566 - 18:12:29 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลcmboyman (97)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     1,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    kritsana21 (1.1K)

 

Copyright ©G-PRA.COM