(0)
ราคาวัดใจต่ำกว่าทุน พระอู่ทองคางเครา พิมพ์ไม่มีเครา กรุวัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมบัตรสมาคมฯ ใบประกาศอีกสองงาน








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องราคาวัดใจต่ำกว่าทุน พระอู่ทองคางเครา พิมพ์ไม่มีเครา กรุวัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมบัตรสมาคมฯ ใบประกาศอีกสองงาน
รายละเอียดพระอู่ทองคางเครา พิมพ์ไม่มีเครา กรุวัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีพระเครื่องอยู่กรุหนึ่งที่น่าสนใจ และน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง คือพระกรุวัดมหาธาตุ เมื่อครั้งที่กรุแตกนั้น ได้พบพระเครื่องเป็นจำนวนมาก แต่มีพระอยู่สองประเภทที่มีความไม่เหมือนกับพระอื่นๆ ที่พบในกรุเดียวกัน ทั้งพุทธศิลปะ และเนื้อหาธรรมชาติความเก่าของเนื้อพระ และผิวของพระ เช่นพระนาคปรกพระงั่ว และพระอู่ทองคางเครา

วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และเป็นวัดที่มีความเก่าแก่มาก ประวัติการสร้างนั้นยังไม่ค่อยชัดเจนนักว่าสร้างในปีพ.ศ.ใด ได้แต่สันนิษฐานว่าสร้างในตอนต้นกรุงศรีอยุธยา เป็นวัดที่ประดิษฐานพระบรมธาตุใจกลางพระนคร และจากหลักฐานที่พบว่าวัดแห่งนี้เคยเป็นวัดที่พำนักของสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายคามวาสีในสมัยกรุงศรีอยุธยา
วัดมหาธาตุได้รับการบูรณะมาโดยตลอดในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระปรางค์เคยพังทลายลงมาเกือบครึ่ง พระปรางค์นี้เดิมทีเป็นพระปรางค์ที่สร้างด้วยศิลาแลง ต่อมาในสมัยแผ่นดินของพระเจ้าปราสาททอง ทรงบูรณะขึ้นใหม่ แต่ก็ได้พังทลายลงมาอีกครั้งในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันคงเหลืออยู่เพียงชั้นฐานของพระปรางค์
พระเครื่องที่พบในกรุวัดมหาธาตุ มีอยู่ด้วยกันหลายแบบ แต่ที่โด่งดังมากและรู้จักกันดีก็คือ พระนาคปรกพระงั่ว และพระอู่ทองคางเครา ซึ่งพระทั้งสองชนิดนี้มีความแปลกแตกต่างจากพระในกรุเดียวกันมาก เช่นทางด้านพุทธศิลปะ จะออกเป็นศิลปะขอมชัดเจนมาก เช่น พระนาคปรกพระงั่ว และพระอู่ทองคางเครา อีกทั้งเนื้อชินเงินก็ออกเป็นผิวสนิมเกล็ดกระดี่ สังเกตธรรมชาติของผิวพระก็ดูมีอายุเก่ากว่าพระอื่นๆ ในกรุเดียวกันมาก เนื่องจากพระในกรุเดียวกันหรือพระกรุของอยุธยานั้น มักจะพบว่ามีผิวปรอทจับขาวเกือบทั้งองค์แทบทุกกรุ
มีผู้สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นพระเครื่องที่ถูกย้ายมาบรรจุไว้ในกรุแห่งนี้ โดยนำมาจากลพบุรี เนื่องจากพุทธศิลปะก็เป็นแบบขอมมากกว่าจะเป็นศิลปะแบบอยุธยา ผิวของพระและเนื้อหาก็ต่างจากพระสมัยกรุงศรีอยุธยามากนัก จำนวนพระที่พบก็น้อยมากทั้งสองแบบคือพระนาคปรกพระงั่วและพระอู่ทองคางเครา พระทั้งสองแบบนี้พบจำนวนน้อยกว่าพระแบบอื่นๆในกรุเดียวกัน
พระอู่ทองคางเครา มีการพบอยู่ 3 พิมพ์คือ พระอู่ทองคางมีเครา พระอู่ทองคางไม่มีเครา และพระอู่ทองแบบพิมพ์เล็ก เนื้อของพระจะเป็นเนื้อชินเงิน ผิวออกดำ สนิมส่วนมากจะเป็นสนิมแบบเกล็ดกระดี่ สนิมตีนกามีพบบ้าง ด้านหลังมักจะเป็นแอ่ง พระอู่ทองคางเคราพิมพ์ที่นิยมคือพิมพ์ที่มีเครา และเป็นพิมพ์ที่พบน้อยที่สุดของทั้ง 3 พิมพ์ พระพิมพ์นี้มองดูเหมือนกับว่าองค์พระมีเครายาวเหมือนฤๅษี แต่เท่าที่สังเกตดูสันนิษฐานว่า เกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุเสียมากกว่า ผู้แกะแม่พิมพ์คงมิได้เจตนาสร้างให้องค์พระมีเคราอย่างที่เห็น น่าจะเป็นเพราะเวลาสร้างพระนั้นเกิดแม่พิมพ์แตกตรงบริเวณที่เป็นเคราพอดี เนื่องจากสังเกตได้ว่า ลักษณะของเคราจะไม่เหมือนกันทุกองค์ มีมากบ้างน้อยบ้าง และพระพิมพ์นี้จะพบน้อยกว่าพิมพ์ไม่มีเครา ซึ่งก็สันนิษฐานได้อีกว่า เมื่อแม่พิมพ์แตกเสียหายจึงมิได้สร้างต่อ ส่วนพิมพ์ไม่มีเคราก็เหมือนกับพิมพ์มีเคราทุกอย่างเพียงแต่ไม่มีเคราเท่านั้นครับ
พระอู่ทองคางเคราพิมพ์มีเครานั้นมีจำนวนน้อยกว่าจึงเป็นพิมพ์ที่นิยมมากกว่าพิมพ์ไม่มีเครา พุทธคุณของพระอู่ทองคางเครานั้นเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน และแคล้วคลาด ปกป้องคุ้มครองป้องกันภัย ปัจจุบันหาชมยากทั้งพิมพ์มีเคราและไม่มีเคราครับ
ราคาเปิดประมูล1,000 บาท
ราคาปัจจุบัน4,100 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 17 ส.ค. 2564 - 23:17:27 น.
วันปิดประมูล - 18 ส.ค. 2564 - 23:57:31 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลPissawat29 (245)(2)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 17 ส.ค. 2564 - 23:18:15 น.



ใบประกาศรางวัลครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 17 ส.ค. 2564 - 23:18:53 น.



ใบประกาศรางวัลครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 18 ส.ค. 2564 - 16:10:50 น.



ภาพถ่ายสดครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     4,100 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Vithoon (16)

 

Copyright ©G-PRA.COM