(0)
(คืนกำไรให้ลูกค้า) เหรียญเบ็ญจะมหามงคล "ฟ้าลั้น" พ.ศ.2516 วัดสุปัฏนาราม จ.อุบลฯ *หลวงปู่ชาเสก*






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง(คืนกำไรให้ลูกค้า) เหรียญเบ็ญจะมหามงคล "ฟ้าลั้น" พ.ศ.2516 วัดสุปัฏนาราม จ.อุบลฯ *หลวงปู่ชาเสก*
รายละเอียดประวัติความเป็นมาและพิธีพุทธาภิเษก
ในระหว่างที่พลตรีจุมพล ทองทาบได้รับเลือกให้เป็นนายกสมาคมนั้นได้ปรึกษาหารือกับคณะกรรมการว่าควรจะหาเงินสักจำนวนหนึ่งมาสร้างสำนักงานของสมาคมและที่ประชุมได้มีมติให้สร้างเหรียญขึ้นเพื่อจำหน่าย ดังนั้น คณะกรรมการจึงไปขอคำแนะนำจากเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์โดยท่านได้แนะนำให้บรรจุรูปพระอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดอุบลราชธานี 5 องค์ ลงในเหรียญคือ พระคุณเจ้าพระอุบาลีคุณูปมาจารย์สิริจันโท (จันทร์) พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต สมเด็จมหาวีรวงศ์ ติสโส (อ้วน) เจ้าคุณพระศาสนดิลก ชิตเสโน (เสน)
พระอริยสงฆ์ทั้ง 5 องค์ที่เป็นที่เคารพนับถือของชาวจังหวัดอุบลราชธานีและบุคคลทั่วไปเนื่องจากเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนี้จะรวมกันอยู่อีกด้านหนึ่งของเหรียญเรียกว่า “เหรียญเบ็ญจะมหามงคล”และมีอักษรขอมแทรกไว้ส่วนอีกด้านหนึ่งของเหรียญให้นำรูปพระสัพพัญญูเจ้าซึ่งเป็นพระประธานในโบสถ์วัดสุปัฏนารามวรวิหารใส่ไว้
ด้านหน้า เหรียญประกอบไปด้วย
1.พระอุบาลีคุณูปมาจารย์(จันทร์ สิริจันโท) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
2.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์(อ้วน ติสโส) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
3.ลป.เสาร์ กันตสีโล วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
4.ลป.มั่น ภูริทัตโต วัดป่าบ้านหนองผือนาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
5.พระศาสนดิลก(เสน ชยเสโน) วัเสปัฏนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
ด้านหลัง เหรียญเป็นรูปของ “พระสัพพัญญูเจ้า’ พระประธานในพระอุโบสถวัดสุปัฏนาราม ซึ่งเป็นรูปพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ของจ.อุบลราชธานีมีอักขระขอมติดองค์พระว่า “อะ อุ มะ”
“อะ” คือ อะระหัง แปลว่า ผู้ไกลจากกิเลสซึ่งหมายถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
“อุ” คือ อุตมะธัมโม หมายถึงพระสัจธรรมอันเลิศเมื่อพระพุทธองค์ตรัสออกมาแล้วย่อมเป็นหนึ่งไม่มีสอง
“มะ” คือ มหาสังโฆ แปลว่า พระสงฆ์หมู่ใหญ่
มีอักขระโค้งไปตามขอบเหรียญ ความว่า “นะโมวิมุตตานังนะโมวิมุตติยา” อันเป็นพระคาถา ย่อมาจากพระปริตชื่อ “โมระปริตร”ซึ่ง ลป.มั่น ยกย่องว่าเป็นเลิศในทางแคล้วคลาด ป้องกันภยันตรายเรียกพระคาถานี้ว่า “หัวใจยูงทอง”
คณะกรรมการสมาคมได้จัดสร้างเหรียญจำนวน 100,000 เหรียญ และได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกครั้งแรก ณพระอุโบสถวัดสุปัฏนารามวรวิหาร เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2516เวลา 16.00น. ถึงวันที่ 25 พฤษภาคม 2516 เวลา 05.40 น.โดยมี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน เป็นองค์ประธานในพิธีและได้อาราธนาพระคุณเจ้าที่มีศีลาจาริวัตรเป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธามาร่วมพิธีพุทธาภิเษก จำนวน 62 องค์ เช่น
พระอาจารย์ขาว วัดถ้ำกลองเพล,พระอาจารย์วัน วัดถ้ำภูเหล็ก, พระอาจารย์ฝั้น วัดถ้ำขาม, พระอาจารย์บุญมา วัดศิริสาลวัน, พระอาจารย์ชา วัดหนองป่าพง, หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอ, พระอาจารย์หลวงพ่อเทียม วัดกษัตริยาธิราช อยุธยา, พระอาจารย์หลวงพ่อทองอยู่ สมุทรสาคร, พระอาจารย์เจ้าคุณพระราชสุทธาจารย์ วัดวชิราลงกรณ์ ปากช่อง, เจ้าคุณพระโพธิญาณมุนี ชัยภูมิ, พระครูโอภาสสมณกิจ(หลวงพ่อผาง) วัดธรรมวิเวก ชนบท เป็นต้น
ในวันทำพิธีปลุกเสก ได้เกิดนิมิตอันดีปรากฏให้เห็นชัดเจน กล่าวคือขณะที่พราหมณ์กำลังกล่าวอัญเชิญเทวดา ท้องฟ้ามืดครึ้มขึ้นมาทันที ลมกระโชกแรงมีเสียงฟ้าคำรามอย่างกึกก้อง ฝนตกปรอยๆ ประมาณ 2-3 นาทีแล้วก็หายไปราวปาฏิหาริย์ ประชาชนที่มาร่วมพิธีจึงให้ชื่อว่า“เหรียญฟ้าลั่น”
เพราะเป็นนิมิตดีน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
ในขณะที่เจ้าประคุณสมเด็จฯท่านกำลังนำเทียนชนวนที่จุดไฟเพื่อนำไปจุดเทียนชัยอยู่นั้นบังเกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นคือ “ฟ้าลั่นเปรี้ยงดังสนั่นหวั่นไหวที่ท่าน้ำวัดสุปัฏนารามถึง2 ครั้งซ้อนและฟ้าได้มืดครึ้มลงอย่างกะทันหันพร้อมมีฝนโปรยปรายลงมาอยู่ครู่ใหญ่แล้วจึง หายไป”ในขณะที่เจ้าประคุณสมเด็จฯท่านกำลังจุดเทียนชัยอยู่นั้นพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ก็ได้เจริญพระพุทธมนตร์ ดังมีรายนามดังต่อไปนี้
1.พระธรรมบัณฑิต วัดสุทธจินดา อ.เมือง จ.นครราชสีมา
2.พระเทพมงคลเมธี วัดมณีวนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
3.พระเทพกวี วัดสุปัฏนารามวรวิหาร อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
4.พระวิโรจน์รัตนโนบล วัดทุ่งศรีเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
5.พระศาสนดิลก วัดสุปัฏนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
6.พระครูประจักษ์อุบลคุณ วัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
7.พระครูศีลคุณาภรณ์ วัดแสนสำราญ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
8.พระครูวิรุฬสุตการ วัดวารินทราราม อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
9.พระครูสังวรศีลขันธ์ วัดสุทัศนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

การอธิษฐานจิตปลุกเสกนั้นได้ประกอบพิธีเป็นชุดๆ ไปมีทั้งหมด 3 ชุด ดังนี้

ชุดที่ 1
พระพิธีธรรม ชุดที่ 1
1.พระครูศีลคุณาภรณ์ วัดแสนสำราญ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
2.พระครูบวรคณานุศาสน์ วัดศรีฐานใน อ.ป่าติ้วจ.อุบลราชธานี(ในสมัยนั้นอ.ป่าติ้วยังขึ้นอยู่กับจ.อุบลราชธานีครับ)
3.พระครูปลัดสวัสดิ์ วัดใต้ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
4.พระครูใบฎีกามานะ วัดไชยมงคล อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

พระกัมมัฏฐานที่เมตตามาอธิษฐานจิต ชุดที่ 1
1.พระญาณสิทธาจารย์(สิงห์ สุนทโร) หรือ ลป.เมตตาหลวง วัดเทพพิทักษณ์ปุณณาราม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
2.พระครูภาวนานุศาสน์(สาย จารุวัณโณ) วัดป่าหนองยาว อ.เดชอุดมจ.อุบลราชธานี
3.พระครูสังฆรักษ์(ลป.พั่ว) วัดบ้านนาเจริญ อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี
4.พระญาณวิริยาจารย์(วิริยังค์ สิรินธโร)วัดธรรมมงคล บางจากกรุงเทพฯ
5.พระครูนวกรรมโกวิท วัดมหาวนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
6.พระครูภัทรคุณาธาร วัดพรหมวิหาร อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร
7.พระครูญารวิจิตร วัดประชาอุทิศ อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี
8.พระครูพินิจสังฆภาร วัดศรีนวล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
9.พระอาจารย์ประยูร วัดป่าธรรมรังษี อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี(ขณะนั้น)
10.พระอาจารย์ภา วัดหนองบัว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

ชุดที่ 2
พระพิธีธรรม ชุดที่ 2
1.พระครูอุบลเดชคณาจารย์ วัดศรีอุบลรัตนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
2.พระครูธรรมประเวที วัดสุทัศนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
3.พระครูใบฎีกาจันทร์ วัดบ้านท่าบ่อ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
4.พระปลัดหมูน วัดแสนสำราญ อ.วารินชำราบ อ.อุบลราชธานี

พระกัมมัฏฐานที่เมตตามาอธิษฐานจิต ชุดที่ 2
1.พระราชสุทธาจารย์(โชติ คุณสัมปันโน) วัดวชิราลงกรณ์ อ.ปากช่องจ.นครราชสีมา
2.พระครูพิบูลธรรมภาณ(โชติ อาภัคโค)วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหารจ.อุบลราชธานี
3.พระโพธิญาณมุนี วัดศรีแก้งค้อ อ.แก้งค้อ จ.ชัยภูมิ
4.พระครูอรุณรังษี วัดแสนสุข อ.วารินชำราบ อ.อุบลราชธานี
5.พระครูพิเนตสมณกิจ วัดประชารังสรรค์ อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ
6.พระครูโอภาสสมณกิจ วัดป่าธรรมวิเวก อ.เมือง จ.ขอนแก่น
7.พระครูวิจิตรธรรมภาณี วัดหนองบัว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
8.พระครูอมรวิสุทธิ์(ลต.พวง สุขินทริโย) วัดศรีธรรมาราม อ.เมืองจ.ยโสธร
9.พระครูพุทธิสารสุนทร วัดประดิษฐ์ธรรมาราม อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี
10.พระครูวินัยธรอุทิศ วัดแสนสำราญ อ.วารินชำราบ อ.อุบลราชธานี

ชุดที่ 3
พระพิธีธรรม ชุดที่ 3
1.พระครูประจักษ์อุบลคุณ วัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
2.พระครูชิโนวาทสาธร(อุไทย์ ปภัสสโร) วัดไชยมงคล อ.เมืองจ.อุบลราชธานี
3.พระครูวินัยธร(พิมพ์) วัดสุทัศนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
4.พระครูวินัยธร(แดง)วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

พระกัมมัฏฐานที่เมตตามาอธิษฐานจิต ชุดที่ 3
1.ลพ.มุม อินทปัญโญ วัดปราสาทเยอร์เหนือ อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ
2.พระราชมุนี(โฮม) วัดปทุมวนาราม ปทุมวัน กรุงเทพฯ
3.พระโพธิญาณเถร(ลป.ชา สุภัทโท) วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบจ.อุบลราชธานี
4.พระชินวงศาจารย์(ลพ.พุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน อ.เมืองจ.นครราชสีมา
5.ลป.บุญมี โชติปาโล วัดสระประสานสุข อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
6.พระครูทัศนประกาศ วัดสำราญนิเวศ อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี
7.พระครูชโยบลบริบาล วัดหอก่อง อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร
8.พระอาจารย์บุญกอง วัดโพนทัน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี
9.พระครูโอภาสธรรมคุณ วัดสุภรัตนาราม อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
10.พระมหามณี วัดบ้านก้านเหลือง จ.อุบลราชธานี

หมายเหตุก่อนทำพิธีพุทธาภิเษกนั้นพระทุกรูปได้ทำสังฆกรรมปลงอาบัติเพื่อความบริสุทธิ์ก่อนทุกรูป และในพิธีนี้ได้มีพระเถระที่เมตตานั่งอธิษฐานจิตให้ตลอดคืนจนสว่างเลยได้แก่
1.ลพ.มุม อินทปัญโญ วัดปราสาทเยอร์เหนือ
2.ลป.บุญมี โชติปาโล วัดสระประสานสุข
3.ลป.ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง
4.ลพ.พุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน
ต่อมาคณะกรรมการสมาคมได้นำเหรียญ “เบ็ญจะมหามงคล”เข้าร่วมในพิธีพุทธาภิเษกในโอกาสสำคัญๆ อีก 3 ครั้งคือ
พุทธาภิเษกครั้งที่ 2 ที่วัดมหาวนาราม(วัดป่าใหญ่) เมื่อ พ.ศ. 2518 พร้อมปลุกเสกพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงและเหรียญพระแก้วบุษราคัมของจังหวัด จัดทำเป็นที่ระลึกสร้างศาลหลักเมืองจังหวัดอุบลราชธานี
พุทธาภิเษกครั้งที่ 3 ที่วัดดอยตุงอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันเป็นองค์ประธาน
พุทธาภิเษกครั้งที่ 4 ในวันที่ 5ธันวาคม พ.ศ. 2528 ที่วัดมหาวนาราม(วัดป่าใหญ่) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ราคาเปิดประมูล330 บาท
ราคาปัจจุบัน350 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 18 มิ.ย. 2558 - 16:33:33 น.
วันปิดประมูล - 29 มิ.ย. 2558 - 10:15:28 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลmeef2002 (1.1K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     350 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    sena_poo (151)

 

Copyright ©G-PRA.COM