(0)
พระสมเด็จกรุวัดชนะสงคราม ฐานสามชั้น กทม








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระสมเด็จกรุวัดชนะสงคราม ฐานสามชั้น กทม
รายละเอียดบัตรเวปข้างบ้าน
ขึ้นจากกรุ..ประมาณ 2000 องค์ครับ..
สมเด็จพระญาณสังวรพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ท่านเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพุฒาจารย์(โต)พรหมรังษี และสำหรับวงการพระเครื่องแล้ว ถือกันว่า พระสมเด็จอรหัง เป็นต้นแบบของพระสมเด็จวัดระฆัง
ทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงพระเกียรติคุณเป็นที่เลื่องลือพระองค์หนึ่ง ในยุครัตนโกสินทร์ ทรงพระคุณพิเศษในด้านวิปัสสนาธุระ จนมีพระฉายานามอันเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่ประชาชนว่า “พระสังฆราชไก่เถื่อน” เพราะทรงสามารถแผ่พรหมวิหารธรรมให้ไก่ป่าเชื่องเป็นไก่บ้านได้
ตามประวัติของ สมเด็จพระสังฆราช(สุก ไก่เถื่อน) นี้ เดิมท่านอยู่วัดท่าหอย พระนครศรีอยุธยา ตามประวัติกล่าววว่า สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก(รัชกาลที่๑)มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระ สังฆราช(สุก ไก้เถื่อน)มาก โดยเมื่อครั้งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก(รัชกาลที่๑) ยกทัพไปเวียงจันทร์ท่านได้แวะกราบหลวงปู่สุก ที่วัดท่าหอย โดยหลวงปู่ท่านกล่าวว่าไปศึกครั้งนี้จะได้ของศักดิ์ศิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองลง มาด้วย ซึ่งซึ่งหลังจากเศร็จศึกก็ได้มีการอัญเชิญพระแก้วมรกต และ พระบางเข้ามากรุงธนบุรี
ต่อมาหลังจากรัชกาลที่๑ ขึ้นครองราชย์ ก็ทรงนิมนต์ท่าน ให้มาสอนวิปัสสนาธุระในกรุงเทพมหานคร
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวาสถิตที่วัดมหาธาตุ จะแตกฉานทางด้านคันถธุระหรือทางด้านปริยัติ ส่วนฝ่ายซ้ายจะสถิต ณ วัดป่าแก้ว ซึ่งเชี่ยวชาญทางวิทยาคม มีเวทมนต์คาถาศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งสมัยนั้น มีเกจิอาจารย์สำคัญที่มีชื่อจารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ อาทิ หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด สมเด็จพระวันรัต (วัดป่าแก้ว) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นต้น
ซึ่งการศึกษาด้านวิปัสสนาธุระของ พระภิกษุสงฆ์ไทยนั้น ได้สืบทอดมาจนถึงรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ทรงโปรดส่งเสริมการศึกษาทางด้านนี้มาก (สายวิชชากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ) ได้เจริญรุ่งเรื่องที่สุดในสมัยรัชกาลที่ ๒ สมเด็จโตฯ ผู้สร้างพระเครื่องพระสมเด็จอันเลื่องลือยิ่งนักนั้น ท่านก็ได้ศึกษาด้านวิปัสสนาธุระมาอย่างเชี่ยวชาญ ท่านเก่งทั้งทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระ เรียนพระปริยัติจนไม่มีอาจารย์สอนได้ และเก่งวิปัสสนา ซึ่งหาได้ยากยิ่งในพระภิกษุรูปเดียวกัน เพราะปกติทั่วไป มักจะเก่งคนละอย่าง ไม่มีพระภิกษุรูปใดที่เก่งทั้ง ๒ ด้านเฉกท่าน
พระอาจารย์ที่สอนวิทยาคมให้แก่ สมเด็จโตฯ องค์แรก ตั้งแต่สมัยที่ท่านยังเป็นสามเณรอยู่ก็คือ พระอริญญิก (แก้ว) เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร พระอาจารย์องค์ต่อมาคือ สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน ที่ท่านได้สมญานามนี้ เพราะท่านสามารถแผ่เมตตาจนกระทั่งไก่ป่าที่เปรียวและตื่นง่าย เชื่องเป็นไก่บ้านเข้ามาจิกข้าวที่ท่านเสกให้กินได้ สมัยนั้นสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน มีชื่อเสียงเลื่องลือมาก ท่านทรงเป็นพระกรรมวาจารย์ของได้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ในสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาสุ รสิงหนาท และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นพระอุปัชฌาย์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และพระอุปัชฌาย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยทรงผนวช
ในการทะนุบำรุงพระนครในช่วงเวลานั้น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุ รสิงหนาท ได้ทรงเป็นแม่งานในการก่อสร้างทะนุบำรุงสถานที่สำคัญ อาทิ พระบรมมาหราชวัง ป้อมประตู คูเมืองต่างๆ ในด้านศาสนสถาน สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุ รสิงหนาท ได้บุรณะ วัดมหาธาตุ และ วัดชนะสงคราม ด้วย
ในด้านศิลปและความเก่าของพระวงการให้การยอมรับว่าสมเด็จอรหังวัดชนะสงครามเป็นพระที่เก่าจริงไม่ใช่พระฝีมือยัดกกรุแต่ประการใด
ประวัติสถานที่ขุดพบคือใต้ฐานชุกชีพระหลวงพ่อปู่พระประธานฯในพระอุโบสุวัด ชนะสงครามที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุ รสิงหนาท ทรงเลื่อมใสเมื่อครั้งเสร็จสงครามเก้าทัพทรงได้หยุดพัก ณ วัดแห่งนี้ ทรงถอดฉลองพระองค์ลงยันต์ (เสื้อยันต์) คลุมองค์พระถวายเป็นพุทธบูชา ช่างได้โบกปูนทับทำให้องค์พระใหญ่ขึ้นดังปัจจุบัน สมเด็จอรหังที่พบในกรุวัดชนะสงครามเป็นศิลปและเชิงช่างเดียวกันกับสมเด็จ อรหังที่พบที่วัดมหาธาตุ ...ตามประวัติบุคคลและสถานที่ นับเป็นพระสมเด็จที่น่าบูชาเป็นอย่างยิ่ง
ราคาเปิดประมูล500 บาท
ราคาปัจจุบัน2,010 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 21 มิ.ย. 2556 - 15:52:29 น.
วันปิดประมูล - 02 ก.ค. 2556 - 13:47:45 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลsrisanpang (808)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 28 มิ.ย. 2556 - 16:31:01 น.

2,000 บาท ครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     2,010 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Pepepe (380)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM